Powered By Blogger

16 พฤศจิกายน, 2553

FIB431 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการทางการเงิน

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการทางการเงิน

          ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในกระบวนการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการจัดการ ด้านบัญชี หรือด้านการเงิน ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร ตลอดจนสามารถนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อให้สามารถแข่งขัน และอยู่รอดได้


เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ อะไร
          คำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” นั้น เกิดจากการนำคำ 2 คำมารวมกัน คือ คำว่า “เทคโนโลยี (Technology)” ซึ่งหมายถึง การนำเอาความรู้ทางวิชาการ และด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และคำว่า “สารสนเทศ (Information)” ซึ่งหมายถึง ข้อมูล (Data) ที่ผ่านการประมวลผล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีความหมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับการสร้าง จดบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และสื่อสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว รวมถึงความถูกต้อง และความแม่นยำ สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ นั่นเอง

          ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้

          1. การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ

          2. การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น

          3. การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
                   - การควบคุมภายใน (internal control)
                   - การควบคุมภายนอก (external control)

          ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
          1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ

          2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน

          3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์

          4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานกราณ์

          ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลจทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน

18 มกราคม, 2553

FIB 331 งานครั้งที่1

1. จงอธิบายความสำคัญของการบริหารจัดการทางการเงินที่มีต่อองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน
ตอบ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน การบริหารจัดการทางการเงินก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะการบริหารจัดการทางการเงินนั้นเป็นการวางแผนทางการเงินรวมไปถึงการตัดสินใจในการใช้จ่ายเงินเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้โครงสร้างทางการเงินมีความมั่นคง ทำให้การดำเนินกิจการไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนมีสภาพคล่องในทางการเงิน สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกราบรื่น

2. จากการศึกษาเรื่องจุดมุ่งหมายในการจัดการทางการเงินให้นักศึกษาอธิบายความแตกต่างของจุดมุ่งหมายในการจัดการการเงินในองค์กรและการจัดการการเงินส่วนบุคคล
ตอบ การจัดการการเงินในองค์กรจะมีจุดม่งหมายเพื่อสร้างความมั่นคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยการทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงที่สุดซึ่งมูลค่าธุรกิจได้จากราคาหุ้นสามัญในตลาดและเงินปันผลที่สูงที่สุดและปัจจัยที่ทำให้มูลค่าหุ้นสามัญในท้องตลาดสูงที่สุดมี2ปัจจัย คือ เงินปันผล ความเสี่ยง ส่วนการจัดการการเงินส่วนบุคคล จะเป็นการบริหารเงินในส่วนบุคคลให้บรรลุจุดมุ่งหมาย "เงิน"เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้บุคคลได้รับในสิ่งที่ตนหวังไว้และการจัดการการเงินส่วนบุคคลยังจะเป็นการจัดระเบียบการเงินของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการรู้จักจัดหาเงินเข้ามาและใช้จ่ายออกไปได้อย่างถูกต้อง

FIB 331

หาความหมายของคำ

1. ตราสารหนี้ หมายถึง ตราสารแสดงความเป็นหนี้ หรือสัญญาเงินกู้ที่บริษัทออกให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป โดยสัญญาว่าจะใช้เงินามกำหนด และจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นตราสารสิทธิที่แสดงความเป็น เจ้าหนี้ของกิจการ

2. ตราสารทุน หมายถึง ตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือเพื่อแสดงสิทธิการเป็นเจ้าของในกิจการนั้น ประเภทของตราสารทุนได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ เป็นต้น

3. Conflict of interests หมายถึง ความขัดแย้งหรือไม่ลงลอยกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ตัวอย่างเช่น นักธุรกิจที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอาจมีความขัดแย้งกันระหว่างผลกำไรของบริษัทที่ตนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติ จากการตัดสินใจบางอย่างผ่านกลไกของรัฐ

4. Agency problem หมายถึง "ปัญหาตัวแทน" ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารที่เป็นเจ้าของหรือผู้ที่หุ้นด้วยมักจะไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับทีมบริหารของบริษัท เขาได้รับรางวัลจากการทำดีของเขาและได้รับการลงโทษจากการกระทำผิดของเขา การทำความดีโดยส่วนตัวของเขาก็เพื่อมูลค่าของบริษัทในบริษัทใหญ่ๆโดยมากผู้บริหารไม่ใช่เจ้าของ และเขาก็ไม่ได้ทำดีที่สุดเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้เป็นเจ้าของ เช่น ย้ายไปอยู่ตีกที่ยิ่งใหญ่พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวก และพนักงานที่เกินความจำเป็น ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะว่าผู้บริหารของบริษัทถูกจ้างในฐานะของตัวแทนบริษัท ซึ่งเรียกว่า ปัญหาตัวแทน Agency Problem

5. Social Responsibility หมายถึง "ความรับผิดชอบต่อสังคม" ในเรื่องการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ การแก้ไขปัญหาสังคม หรือการแสดงสำนึกต่อสังคมเพื่อเป็นการตอบแทนประโยชน์ที่ได้รับจากสังคมและชุมชนหรือแสดงความสำนึกในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการประกอบธุรกิจ

6. CFO(Chief Financial office) หมายถึง ผู้บริหารระดับสูงทางด้านการเงิน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อให้เติบโตอย่างมั่นคง CFO เป็นตำแหน่งที่ขึ้นตรงกับบริษัททำหน้าที่ดูแลหน่วยงานด้านบริหารการเงิน CFO ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจในธุรกิจ มีความรู้เรื่องระบบบริหารความเสี่ยงนอกจากนี้ยังสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่องค์กรจากวิกฤตการณ์ต่างๆที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา